โรคซึมเศร้า ชื่อนี้อาจไม่คุ้นหูสำหรับใครคนไทยหลายคน ซึ่งความจริงแล้ว “โรคซึมเศร้า” ได้อุบัติขึ้นเป็นเวลานาน และคนส่วนใหญ่ไม่เข้าใจว่าตนเองกำลังป่วยเป็นโรคนี้อยู่ จึงทำให้ไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องและทันท่วงที
โดยอาการเบื้องต้นที่พบเห็นได้คือ ผู้ป่วยจะมีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมค่อนข้างมาก ทั้งทางด้านอารมณ์ ความรู้สึกนึกคิดพฤติกรรม ร่วมกับอาการทางด้านร่างกาย
เช่น นอนไม่หลับ เบื่ออาหาร น้ำหนักลด เป็นต้น ดังนั้นเราควรศึกษาอาการของโรคเบื้องต้น แนวทางการป้องกัน ตลอดจนวิธีการรักษา เพื่อให้สามารถสังเกตตัวเองและดูแลคนรอบข้างได้
ลักษณะอาการของผู้ป่วย โรคซึมเศร้า
ผู้ป่วย โรคซึมเศร้า ส่วนใหญ่ มักจะแสดงอาการแบบค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งอาการนั้นจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปัจจัยที่มากระตุ้น ไม่ว่าจะเป็น ความรู้สึกเครียด ความผิดหวัง หรือเสียใจซ้ำซาก
หากไม่ได้รับการสังเกตที่ดีอาจจะไม่เห็นได้ถึงความเปลี่ยนแปลงดังกล่าว และมักจะแสดงออกด้วยการ รู้สึกเบื่อเศร้า ท้อแท้ รู้สึกตนเองไร้ค่า นอนหลับไม่ดี โดยเราสามารถสังเกตได้จากการเปลี่ยนแปลงในเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
- มีอารมณ์และความคิดที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม อาการของ โรคซึมเศร้า จะส่งผลให้ผู้ที่ป่วยนั้นมีอาการหดหู่สะเทือนใจง่ายกับเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ตลอดจนการมองโลกในแง่ร้าย รู้สึกว่าชีวิตไร้ค่า ซึ่งความรู้สึกนึกคิดหรือพฤติกรรมดังกล่าวนั้นหากไม่ได้รับการรักษาที่ทันท่วงที่อาจนำไปสู่การทำร้ายตัวเองอันเกิดจากอารมณ์ชั่ววูบได้
- สมาธิความจำแย่ลง จะหลงลืมง่าย โดยเฉพาะกับเรื่องใหม่ ๆ วางของไว้ที่ไหนก็นึกไม่ออก ญาติเพิ่งพูดด้วยเมื่อเช้าก็นึกไม่ออกว่าเขาสั่งว่าอะไร ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง
- มีอาการทางร่างกายต่างๆ ร่วม ที่พบบ่อยคือจะรู้สึกอ่อนเพลีย ไม่มีเรี่ยวแรง ซึ่งเมื่อพบร่วมกับอารมณ์รู้สึกเบื่อหน่ายไม่อยากทำอะไร ก็จะทำให้คนอื่นดูว่าเป็นคนขี้เกียจ ปัญหาด้านการนอนก็พบบ่อยเช่นกัน มักจะหลับยาก
- ความสัมพันธ์กับคนรอบข้างเปลี่ยนไป ซึมลง ไม่ร่าเริง แจ่มใส เหมือนก่อน จะเก็บตัวมากขึ้น ไม่ค่อยพูดจากับใคร บางคนอาจกลายเป็นคนใจน้อย อ่อนไหวง่าย
- อาการโรคจิต ประสาทหลอน จะเชื่อว่ามีคนคอยกลั่นแกล้ง หรือประสงค์ร้ายต่อตนเอง อาจมีหูแว่วเสียงคนมาพูดคุยด้วย
โดยอาการทั้งหมดที่กล่าวมานี้นั้น มีเกณฑ์การพิจารณาว่าหากคุณมีอาการดังกล่าว 5 ข้อขึ้นไป และมีอาการติดต่อกันทุกวันเป็นเวลานานกว่า 2 สัปดาห์ จะเข้าข่ายว่าคุณกำลังป่วยเป็น โรคซึมเศร้า
- มีอารมณ์ซึมเศร้าแทบทั้งวัน(ในเด็กและวัยรุ่นอาจเป็นอารมณ์หงุดหงิดก็ได้)
- ความสนใจหรือความเพลินใจในกิจกรรมต่างๆ แทบทั้งหมดลดลงอย่างมากแทบทั้งวัน
- น้ำหนักลดลงหรือเพิ่มขึ้นมาก (น้ำหนักเปลี่ยนแปลงมากกว่าร้อยละ 5 ต่อเดือน) หรือมีการเบื่ออาหารหรือเจริญอาหารมาก
- นอนไม่หลับ หรือหลับมากไป
- กระวนกระวาย อยู่ไม่สุข หรือเชื่องช้าลง
- อ่อนเพลีย ไร้เรี่ยวแรง
- รู้สึกตนเองไร้ค่า
- สมาธิลดลง ใจลอย หรือลังเลใจไปหมด
- คิดเรื่องการตาย คิดอยากตาย
แนวทางการรักษา โรคซึมเศร้า
โรคซึมเศร้า เป็นโรคที่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ในรายที่มีอาการป่วยไม่มาก จะสามารถรักษาได้โดยการปรับทัศนคติ ช่วยแก้ปัญหา
หรือแม้แต่หาสิ่งจรรโลงใจให้ยึดเหนี่ยวเพื่อผ่อนคลายความเครียดลง ซึ่งในรายที่มีอาการหนักก็จะมีการให้ยาแก้ โรคซึมเศร้า หรือยาคลายเครียดร่วมด้วย
บางครั้ง การนอนบน ที่นอนยางพารา จะช่วยให้กระตุ้นเซลล์ในร่างกายให้มีความสดชื่นอยู่เสมอ